วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเพณีแชนโฎนตา

ประเพณีแซนโฎนตา

สุรินทร์ จัดงานประเพณีแซนโฎนตาบูชบรรพบุรุษ  เครื่องเส้นว่ายบรรพระบุรุษ
ที่มา :  https://www.google.co.th/search?                         

ประเพณีแซนโฎนตา หรือ วันสารทเขมร
       ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนาน นับเป็นพัน ๆ ปีของชาวเขมร ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูรู้คุณ ของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรม
ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นลูก หลาน ญาติ พี่น้องที่ไปประกอบอาชีพ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลจะต้องเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา เป็นประจำทุกปี
แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ปู่ย่า ตายาย หรือ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ประเพณีแซนโฎนตา จึงหมายถึง ประเพณีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ที่นับได้ว่าเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยเชื้อสายเขมร มีการสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน


ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา มีดังนี้
1. การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้
2. การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน
3. การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน
4. การประกอบพิธีกรรมแซนโฏนตาที่บ้าน
5. การประกอบพิธีกรรมบายเบ็น
6. การประกอบพิธีกรรมที่วัด
(ประกอบพิธีการแซนโฏนตา บางท้องถิ่นอาจมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย)
* เบ็นตุ้ย หมายถึง สารทเล็ก
* เบ็นทม หมายถึง สารทใหญ่

                            
      

การเตรียมเครื่องเส้นว่ายบรรพระบุรุษ  ชาวบ้านจะร่วมไม้ร่วมมือกันทำ  ทำให้เห็นถึงความสามัครคีในชุมชนอีกด้วย
  
  

 
                                                       ขบวนแห่ในงานประเพณีแซนโฎนตา



แต่ละหมู่บ้านก็จะจัดทำขบวนแห่เพื่อมาร่วมในวันงานประเพณีแซนโฎนตาในตัวจังหวัด


เครื่องเส้นว่ายบรรพระบุรุษ

พีธีในการเส้นว่ายบรรพระบุรุษ

 ความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา
       ประเพณีแซนโฏนตา มีความเป็นมายาวนาน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดของประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทาการแผ่เมตตา สามารถอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ หรือผีต่าง ๆ ได้ และการแผ่เมตตายังสามารถส่งให้ผีได้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งหลายได้ การอุทิศส่วนกุศลนั้นสามารถทำได้หลาย
       วิธี ตั้งแต่การกรวดน้ำขณะทำพิธีแซนโฏนตาที่บ้าน การแผ่เมตตา การทำพิธีวันสารท แต่วิธีที่เชื่อว่าสามารถส่งส่วนบุญอุทิศส่วนกุศลได้ถึงผีหรือญาติผู้ล่วงลับแน่นอนคือ การกรวดน้ำ ขณะที่พระสวดบทยะถา นั่นเอง แต่การอุทิศส่วนกุศลทุกวิธีนั้น สิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่ แน่ว แน่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดพลังงานสามารถส่งถึง ญา ติผู้ ล่วงลับได้ เบาบางลง จึงให้มีการจัด พิธี แซนโฏนตาขึ้น และให้มีการสืบ ทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุค ของตนได้แซนโฏนตา ให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตา ยาย พ่อแม่ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฏนตาให้ตามเหมือนกัน และออกกุศโลบายต่าง ๆ ให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฏนตาและทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงิน มีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฏนตาก็จะโกรธ และสาปแช่งญาติ หรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคืองไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีกรรมแซนโฏนตามาทุกปีจนถึงบัดนี้
* บายเบ็น หมายถึง ข้าวสารท, กระยาสารท
       นอกจากประเพณีแซนโฏนตาจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ จุดมุ่งหมายรองของการออกกุศโลบายของบรรพบุรุษ คือ การแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของลูกหลานที่แสดงต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อให้ลูกหลาน ญาติมิตรจะได้มารู้จักกันสร้างความสามัคคี สร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น