วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปวดศีรษะไมเกรน

ปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน
 สาเหตุที่แท้จริงของปวดศีรษะไมเกรนยังไม่มีใครทราบ
แต่เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกาย หรืออยู่ภายในร่างกายทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ เมื่อหลอดเลือดขยายจึงปวดศีรษะ

อาการ
ปวดศีรษะมักจะปวดข้างเดียว อาจจะสลับซ้ายขวาได้ ลักษณะปวดเป็นแบบตุ๊บๆๆๆ น้อยรายที่จะปวดพร้อมกันสองข้าง ปวดมากจนทำงานไม่ได้
 ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง
 ปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ
 หลังปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน
 โดยมากจะมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง
 โดยมากเป็นในอายุน้อย
 
อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะดีขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาการปวดมักปวดข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain  ไม่เกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้

ไมเกรนกับคุณผู้หญิง
 ผู้หญิงและผู้ชายเป็นไมเกรนได้ทั้งสองเพศแต่ผู้หญิงจะเป็นบ่อยกว่า บางคนปวดขณะมีประจำเดือนและหายไปเมื่อตั้งครรภ์ ผู้ป่วยบางคนเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและถี่ขึ้น บางคนไม่เคยเป็นไมเกรนแต่หลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดก็เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้เนื่องจากยารักษาไมเกรนแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมของเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนระดับต่างๆกัน อาจจะแก้ไขโดยการเปลี่ยนชนิดของยาคุมกำเนิดหรือใช้ยี่ห้ออื่น และเมื่อพบว่ายาคุมทำให้คุณปวดศีรษะเพิ่มขึ้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์

สำหรับไมเกรนที่มีอาการนำเช่น ตาเห็นแสง ชาตามมุมปาก ตามนิ้วไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับคนที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าวหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดแล้วเกิดอาการนำดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์

ชนิดของไมเกรน

นอกจากไมเกรน 2 ชนิดดังกล่าว ยังมีไมเกรนอีกหลายชนิดดังนี้
 Hemiplegic migraine มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆหรือบางคนอาจจะมีเวียนศีรษะ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปวดศีรษะตามมา
 ophthalmoplegic migraine ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
 Basilar artery migraine ก่อนอาการปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
 Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ

การวินิจฉัย
 การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้นการเจาะเลือด หรือการตรวจ x-ray เป็นเพียงช่วยวินิจฉัยแยกโรคเท่านั้น แพทย์จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัย
 แพทย์จะซักเกี่ยวกับอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาที่ปวด
แพทย์จะซักอาการร่วมเช่น ไข้ อาการชัก อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง
แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัง การใช้ยา
แพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด

อาการดังต่อไม่นี้ไม่ควรคิดถึงไม่เกรน
 ผู้ป่วยปวดศีรษะหลังอายุ50 ปี
อาการปวดศีรษะปวดขึ้นทันที โดยมากเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก
อาการปวดศีรษะเป็นบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นนานขึ้น
อาการปวดศีรษะพบร่วมกับ ไข้ คอแข็ง ผื่น
มีอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น ชัก อ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง

 การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยเพียงประวัติเท่านั้นดังนั้นมีเกณฑ์ดังนี้
 จะต้องมีอาการปวดศีรษะ (ตามข้อ2-4) อย่างน้อย 5 ครั้ง
ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
ปวดข้างเดียว
ปวดตุ๊บๆๆ
ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
คลื่นไส้หรืออาเจียน
แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ
ประวัติและการตรวจร่างกายปกติ

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องตรวจ computer เพื่อการวินิจฉัย
 การรักษาไมเกรน
 การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดีผู้ป่วยจะต้องทราบถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวดศีรษะ และมีส่วนร่วมในการรักษาโดยมีสมุดจดบันทึกปัจจัยชักนำให้ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะเป็นอย่างไรหลังจากหลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ การปรับยาของแพทย์ทำให้ปวดศีรษะดีขึ้นหรือไม่ ควรไปตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา แบ่งการรักษาเป็นสองหัวข้อคือ ควบคุมปัจจัยชักนำ และการรักษาด้วยยา

1.การควบคุมปัจจัยชักนำ
 
ปัจจัยชักนำมิใช่สาเหตุแต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน
 อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส อาหารที่มี tyramine เช่น เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
การนอน ควรนอนให้เป็นเวลาและนอนให้พอ ตื่นให้เป็นเวลา
ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการจะปวดดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมากระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้น
ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว

 2.การรักษาไมเกรนด้วยยา
 การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ [acute treatment] และการรักษาเพื่อป้องกัน [preventive treatment] จะใช้ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงและบ่อย
 acute treatment ยาแก้ปวดศีรษะมีด้วยกันหลายชนิดควรรับประทานทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะไม่ควรรับประทานยาบ่อย หรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง
 ยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอื่นยาบางชนิดอาจหาซื้อได้จากร้านขายยาเช่น paracetamol ,aspirin, ibuprofen ยา aspirin ไม่ควรใช้กับเด็ก ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ก่อนพบแพทย์ แต่ถ้าไม่หายแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดศีรษะดีขึ้น แต่ยาบางตัวอาจมีแนวโน้มที่จะเสพติด แพทย์บางท่านอาจให้ยา Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น mefenamic,diclofenac,ibuprofen แทนกลุ่มที่จะมีแนวโน้มทำให้เสพติด ผู้ป่วยไมเกรนนอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้วยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นควรได้รับยาแก้คลื่นไส้หากมีอาการคลื่นไส้มาก
ยาที่หยุดอาการไมเกรน ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิดได้แก่ Ergot alkaloids และ Triptans
Migraine prevention
 
หากอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นรุนแรงเป็นบ่อบแพทย์จะแนะนำยาป้องกันไมเกรน ซึ่งสามารถลดความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวด และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่

Antidepressants ยาลดอาการซึมเศร้าสามารถป้องกันปวดศีรษะไมเกรนได้เช่น amitriptyline, nortriptyline, and doxepin
Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น propranolol, metoprolol, timolol, nadolol, or atenolol การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
 Calcium channel blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น verapamil, diltiazem, or nifedipine.  การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
 Serotonin antagonists เช่น cyproheptadine. เป็นยาที่ทำให้อยากอาหารไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็ก
 Anticonvulsants เป็นยากันชักใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะ valproate ยาตัวนี้ให้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 10ปี

 


การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
        มีชื่อเรียกในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น การปลูกพืชไร้ดิน การปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืช การปลูกพืชในสารอาหารพืช 
การปลูกพืชในวัสดุปลูกที่ไม่ใช้ดินที่มีธาตุอาหารพืช การปลูกพืชโดยให้รากพืชสัมผัสสารอาหารโดยตรงที่ไม่มีดิน
เป็นเครื่องปลูก
ความหมายของคำว่า การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจากคำว่า Soilless culture เป็นวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืช
บนดินโดยไม่ใช้ดินเป็นวัสดุในการปลูก
แต่เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกชนิดต่างๆ โดยพืชจะใช้วัสดุปลูกเป็นที่ยึดเกาะของรากและสามารถได้รับธาตุอาหารต่างๆ
ผ่านสารละลายธาตุอาหารพืช ที่มีน้ำผสมกับปุ๋ยที่มีธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการ (Nutrient Solution) ซึ่งสามารถแบ่งประเภท
ตามวัสดุที่ใช้ได้ดังนี้
วัสดุปลูกที่เป็นอนินทรีย์สาร คื

(1) วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทราย กรวด หิน เกล็ด หินภูเขาไฟ หินซีลท์

(2) วัสดุที่ผ่านขบวนการโดยใช้ความร้อน เช่น ดินเผา เม็ดดินเผา ใยหินหรือร็อควูล เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลไลน์

(3) วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เศษอิฐจากการทำอิฐมอญ เศษดินเผาจากโรงงานเครื่องปั้นดินเผา
วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์สาร เช่น

(1) วัสดุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ขุยและเส้นใยมะพร้าว แกลบและขี้เถ้า เปลือกถั่ว พีท

(2) วัสดุที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ชานอ้อย กากตะกอนจากโรงงานน้ำตาล วัสดุเหลือใช้จากโรงงานกระดาษ
ประโยชน์ของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

       การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสภาพความเป็นอยู่ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินเป็นวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศิลปะผสมกัน
ที่สามารถใช้ปลูกพืชได้ในทุกสถานที่
โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกจำนวนน้อยเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือการผลิตเชิงธุรกิจ เป็นวิธีที่เหมาะสม
กับความต้องการสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่ปลูกน้อย
เช่น แฟลต จึงสามารถปลูกได้แม้ในเมืองที่แออัดคับแคบด้วยผู้คน เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เบลเยี่ยม

การปลูกแบบขนาดเล็กๆ เพื่อปลูกไว้ดูเล่น และมีอาหารจากการปลูกเพื่อบริโภคในครอบครัวจะไม่มีความยุ่งยากในการปลูก
 และดูแลรักษาคล้ายคลึงกับการทำสวน
ตามปกติที่ให้ความเพลิดเพลิน การเรียนรู้เบื้องต้นในการปลูกพืช แต่ถ้าเป็นการปลูกแบบเชิงการค้าจะต้องมีการใช้เทคนิค
หลักการต่างๆ ในการควบคุมการผลิตมากยิ่งขึ้น


การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการผลิตเชิงธุรกิจ

วิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถใช้ปลูกพืชได้หลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการปลูกพืชแต่ละชนิด ตั้งแต่ผัก
 ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชไม้เลื้อย
จนถึงพืชยืนต้น แต่การผลิตเชิงธุรกิจส่วนมากนิยมปลูกพวกพืชผัก ไม้ผลที่เป็นพืชที่เก็บเกี่ยวช่วงอายุสั้น







ตัวอย่างของพืชที่สามารถปลูกโดยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
มะเขือเทศ ส้ม สตรอเบอรี่ กุหลาบ ว่านหางจระเข้ หญ้า ผักกาดขาว กล้วย แตงกวา คาร์เนชั่น พืชสวนครัว ต่างๆ บาร์เล่ย์
 คื่นฉ่าย แตงแคนตาลูบ ถั่วฝักยาว เบญจมาศ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักชี พริก มะเขือ 












ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติกับการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

ปกติแล้วพืชจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น ต้องมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมคือ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมเช่น แสงแดด อุณหภูมิ น้ำ
ธาตุอาหารพืชที่มาจากดิน น้ำ และอากาศ
(ออกซิเจน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์) รวมทั้งดินยังเป็นวัสดุที่รากใช้ยึดเกาะเพื่อตั้งลำตันหนีแรงโน้มถ่วงของโลก
 การปลูกพืชบนดินโดยทั่วไปแม้ดินจะมีธาตุอาหาร และอากาศ อันเป็นปัจจัยที่พืชต้องการนั้นมักมีข้อด้อยคือ
 ดินจะไม่มีความอุดมสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่พืชต้องการ กล่าวคือ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนแตกต่างกันไป ตามสภาพพื้นที่
 เช่น โครงสร้างของดิน ปริมาณธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ไม่เหมาะสม ซึ่งจะยุ่งยากต่อการปรับปรุงดินและเสียค่า
ใช้จ่ายสูง ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน



































การทำนาเกลือ

การทำนาเกลือ
           นาเกลือ คือ  พื้นที่สำหรับผลิตเกลือ คล้ายนาข้าวแต่ไม่ได้ปลูกพืช มีมากในบริเวณพื้นที่ติดทะเล เช่น ตำบลบางหญ้าแพรก นาโคก บางโทรัด บ้านบ่อ บางกระเจ้า ชายทะเลของสมุทรสาคร เป็นดินเลนมีคุณสมบัติสามารถขังน้ำไม่ให้ซึมลงดินได้ นาเกลือที่ได้มาตรฐานต้องมีเนื้อที่ไม่ควรน้อยกว่า 25 ไร่ เพราะต้องใช้พื้นที่ในการตากน้ำจำนวนมาก
การทำนาเกลือมีกรรมวิธีเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.             นาปลง เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 1 นิ้ว ก็จะเริ่ม รื้อเกลือ โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถวๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกองๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็กๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป
2.             นาเชื้อ เป็นที่สำหรับรอให้เกลือตกผลึก ใช้สำหรับเก็บน้ำทะเลเพื่อป้องกันให้นาปลง บางครั้งถ้าเกลือราคาดี อาจใช้นาเกลือทำเกลือทำเกลือเหมือนนาปลง แต่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าแรงในการหาบเกลือเก็บไว้ในฉางเนื่องจากอยู่ไกลจากลำคลอง
3.             นาตาก พื้นที่สุดท้ายที่จะที่จะได้ผลิตผลจากน้ำทะเล คือ เกลือสมุทร จะอยู่จดชายทะเล มีขนาดใหญ่มาก ตั้งระหัดเพื่อใช้วิดน้ำทะเลจากรางน้ำทะเลเข้านาตาก
     ชาวนาเกลือจะเริ่มทำเกลือประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปลายฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนช่วยในการละเลงนา ปรับระดับให้เสมอกันโดยใช้ลูกกลิ้งซึ่งทำด้วยไม้ยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม ปัจจุบันนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย นาปลงแต่ละกระทงจะตองกลิ้งประมาณ 4-5 วัน การไขน้ำเข้าสู่นาปลงจะไขตอนบ่าย พื้นนาจะไม่แตกระแหง น้ำที่ไขเข้าต้องสูงกว่าพื้นนาประมาณ 4-5 นิ้ว เพื่อให้เกลืกตกผลึกช้า เม็ดเกลือจะแน่นไม่โพลงทำให้เกลือมีความเค็มสูง ในการตกผลึกของเกลือ เมื่อน้ำเข้มข้น 20-22 ดีกรีโบเม่ จะได้เกลือจืด(Calcium) มีลักษณะเหมือนทรายเม็ดใหญ่ ๆ ตกจมปนกับดิน ชาวนาจะเก็บเกลือจืด เมื่อเลิกทำนาเกลือแล้ว เมื่อความเข้มข้นสูง 25-27 ดีกรีโบเม่ เป็นระยะที่เกลือเค็มตกมากที่สุด ถ้าความเข้มข้นเกิน 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของดีเกลือ (Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ดีเกลือจะตกผลึกในช่วงกลางคืนเมื่อน้ำในนาปลงเย็น

นอกจากการทำนาเกลือนี้แล้วยังมีการทำนาเกลือพลาสติกอีกด้วย







พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึง   พลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล  เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติซึ่งปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มหาศาลอันเป็นสาเหตุโลกร้อน ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานคลื่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ, เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น ในปี 2555 ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเพียง 18.2% ของพลังงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพียง 1.8% โดยที่พลังงานแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพิ่มขึ้น 23% แต่ พลังงานจาก ฟืน ถ่าน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม มีอัตราลดลง 10%] (อาจเป็นเพราะมวลชีวภาพดังกล่าวถูกแปรรูปไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไปแล้ว)
พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นพลังงานที่ถูกทำขึ้นใหม่(renewable)ได้อย่างต่อเนื่อง[4] (เช่นมวลของลมกลุ่มแรกผ่านกังหันลมไป มวลของลมกลุ่มใหม่ก็ตามมาอย่างต่อเนื่องเป็นต้น) เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (อังกฤษ: Renewal Energy) ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น (บางตำราว่า มวลชีวภาพ ก็เป็นพลังงานหมุนเวียน ขึ้นกับว่า มันทำขึ้นใหม่ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่)
ตามแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 15 ปี ระหว่าง 2555-2564 มีแผนที่จะให้มีการใช้พลังงานทดแทนเป็นสัดส่วน 20% ของพลังงานทั้งหมด การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม
สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป
ประเภทของพลังงานทดแทน
ในปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงต่อมวลมนุษยชาติมากขึ้นทุกที การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการร่วมหาหนทางแก้ไข ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ ทดลอง ติดตามเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในประเทศไทยต่อไป โดยคำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งพอจะจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 44 เปอร์เซนต์[5]

เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที